News

| Monday, 26 December 2016 |
Written by 

ถูกกฎหมาย แต่ผิดจรรยาบรรณ

ถูกกฎหมาย แต่ผิดจรรยาบรรณ โดย ยุทธ วรฉัตรธาร ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ถูกกฎหมาย แต่ผิดจรรยาบรรณ

 

         หลายวันก่อนเห็นผลสำรวจของโพลชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ เนื้อข่าวบอกว่าคนส่วนใหญ่ยอมรับเรื่อง การทุจริตคดโกงของผู้บริหารประเทศ ถ้าตนเองได้ประโยชน์หรืออยู่ดีกินดีขึ้น คิดแล้วให้สงสารประเทศชาติ และมั่นใจว่า ยังมีคนอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่รับไม่ได้กับเรื่องทุจริตคดโกง เอารัดเอาเปรียบ โดยเฉพาะประชาชนผู้เสียภาษีด้วยความบริสุทธิ์ใจ ให้ประเทศชาติ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ถ้าคนทั้งประเทศตั้งหน้าตั้งตาโกงซึ่งกันและกัน บ้านเมืองจะมีความสงบสุขได้อย่างไร ประการสำคัญใช่ว่าทุกคนจะมีสิทธิ์โกงหรือเอาเปรียบคนอื่น ผู้ที่โกงได้ เอาเปรียบได้ ส่วนมากเป็นผู้มีอำนาจ มีอิทธิพล ไม่สนใจ ความถูกผิด ไม่เชื่อเรื่องตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ คงหวังได้ยากที่ทุกคนจะได้รับประโยชน์หรือความเอื้ออาทรจากคนประเภทนี้ คนรวยกับคนจนจะมีช่องว่างยิ่งห่างมากขึ้น ถ้าเราเชื่อว่ายุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ต้องทำมาค้าขายกับต่างประเทศ ใครอยากทำมาค้าขายด้วย ถึงจำเป็นต้องค้า ก็ต้องติดต่อค้าขายด้วยความระแวงและระมัดระวัง แม้คู่ค้าภายในประเทศเองก็คงมีความรู้สึก ไม่แตกต่างกัน ในโลกธุรกิจการค้าก็เช่นเดียวกัน คนที่ทุจริตคดโกง เอาเปรียบผู้อื่นได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีอำนาจในมือ มีโอกาส เช่น ผู้ถือหุ้นใหญ่ ผู้บริหารทั้งที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไม่ใช่ตัวแทน โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นกรรมการหรือเป็นทั้งผู้บริหารด้วย พวกนี้อาศัยความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เอาชนะโหวต หรือการออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ ใช้อำนาจที่ผู้ถือหุ้นมอบหมายให้ แล้วก็ มักจะใช้เป็นข้ออ้างเสมอว่า ไม่ได้ทำผิดกฎหมายหรือผิดกติกา ส่วนจะทำผิดจรรยาบรรณหรือจริยธรรมหรือไม่ ไม่สนใจ ใครเสียเปรียบหรือไม่ ไม่ใช่ไม่รู้ รู้แต่ไม่แยแส เพราะคิดถึงผลประโยชน์ของตนเป็นใหญ่ บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่และหรือ ผู้บริหารประเภทนี้ ผู้ลงทุนไม่ควรคบค้าสมาคมด้วย ร่วมลงทุนเป็นหุ้นส่วนเมื่อไหร่มีแต่เสียกับเสีย

         มีกรณีตัวอย่างมากมายที่ผู้กระทำ ถือว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมายหรือทำผิดกฎเกณฑ์กติกา แต่ผิดจรรยาบรรณหรือผิดหลักการ หรือผิดเจตนารมณ์ อยากให้ท่านผู้อ่านพิจารณากรณีดังต่อไปนี้ว่ากรณีไหนผิดจรรยาบรรณ กรณีไหนผิดหลักการหรือ เจตนารมณ์

 

กรณีที่ 1

         เป็นกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยทั้งในบริษัทที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ กรณีที่ ผู้ถือหุ้นใหญ่แต่งตั้งตนเองและญาติพี่น้องเป็นทั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เวลาที่บริษัทมีกำไรดี ก็ใช้อำนาจอนุมัติโบนัสก้อนโตแบ่งปันในหมู่ผู้บริหารระดับสูงไม่กี่คน เช่น อาจมากถึง 30% ของกำไรก่อนภาษี ทั้งๆ ที่บริษัทอื่นในระดับที่ใกล้เคียงกันใช้งบประมาณโบนัสเพียง 10-15% กำ ไรที่เหลือจึงค่อยนำ ไปจัดสรรปันผล แก่ผู้ถือหุ้นๆ ละเท่าๆ กัน ผู้ถือหุ้นอื่นๆ จะได้รับส่วนแบ่งน้อยกว่าที่ควรจะได้ เช่น บริษัทมีกำ ไรก่อนภาษี และก่อนโบนัส 100 ล้านบาท ถูกหักไปจ่ายโบนัส 15% กำ ไรสุทธิก่อนภาษีเท่ากับ 85 ล้านบาท หักภาษี 30% เหลือกำ ไรสุทธิหลังภาษี 59.5 ล้านบาท ถ้าบริษัทนี้มีผู้ถือหุ้นภายนอกหรือประชาชนทั่วไป 50% ก็มีสิทธิ์ได้รับ ส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งหรือ 29.75 ล้านบาท แต่ถ้าถูกหักไปจ่ายโบนัส 30% ส่วนแบ่งของบุคคลภายนอกก็จะเหลือ 24.5 ล้านบาท สรุปก็คือได้รับส่วนแบ่งลดลงจากที่ควรจะได้ นี่คือวิธีง่ายๆ ของการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่น สิ่งที่ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ทำ ได้เช่นนี้ก็เพราะใช้เสียงใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติงบประมาณโบนัสในขั้นแรก และใช้เสียงใหญ่ในคณะกรรมการอนุมัติโบนัสให้ตนเอง และญาติพี่น้องในขั้นต่อไป โดยบุคคลอื่นไม่มีสิทธิ์ มีเสียงมากพอไปทัดทานได้ ถูกกฎหมายแต่เป็นธรรมกับผู้อื่นหรือไม่? โปรดพิจารณา

 

กรณีที่ 2
         เกิดขึ้นบ่อยในบริษัทจดทะเบียน เป็นกรณีที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นทั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ใช้เสียงใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นและในคณะกรรมการอนุมัติให้บริษัทออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการแปลง เป็นหุ้นสามัญ (warrant) แจกจ่ายไปให้ผู้บริหารระดับสูง (ซึ่งก็เป็นพวกตนเอง) และพนักงาน โดยให้เหตุผล อันน่าเชื่อถือว่าเป็นโบนัสให้ผู้บริหารและพนักงานรูปแบบหนึ่ง เพื่อเป็นแรงจูงใจและรักษาผู้บริหารและพนักงาน อยู่กับบริษัทนานๆ แต่พอเข้าจริงกลับจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิให้กรรมการและผู้บริหารจำนวนมาก บางราย อาจสูงถึงกว่า 50% ของจำ นวนที่ออกทั้งหมด เหลือแบ่งให้พนักงานนับร้อย ๆ คนได้เพียงคนละเล็กละน้อย เพราะราคาใช้สิทธิ์แปลงเป็นหุ้นสามัญส่วนใหญ่กำหนดไว้ต่ำกว่าราคาตลาดมาก ถามว่ากรณีนี้ถูกกฎกติกาหรือไม่? ถูกหลักการหรือเจตนารมณ์หรือไม่? การออกใบสำคัญแสดงสิทธิโดยกำหนดราคาใช้สิทธิ์ต่ำกว่าราคาตลาดมาก ฐานจำนวนหุ้นมากขึ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมเสียเปรียบหรือไม่?

 

กรณีที่ 3
         บริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูปจำหน่ายทั้งภายในและส่งออกนอกประเทศ อยู่มาวันหนึ่ง ทางการตรวจ พบว่าวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่ใช้ผลิตอาหารสำเร็จรูปมีสารที่มีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งเมื่อบริโภคเข้าไป แต่สารประเภทนี้เมื่อถูกความร้อนจะตรวจพบไม่ได้ แต่ก็ยังมีผลเมื่อบริโภค ทางการจึงสั่งห้ามใช้วัตถุดิบประเภทนี้ผลิต อาหาร บริษัทผู้ผลิตต้องใช้วัตถุดิบอื่นแทน ทำ ให้ต้นทุนสูง กำไรลดบริษัทจึงใช้กลยุทธ์เปลี่ยนสัดส่วนการขาย โดยส่งออกมากขึ้น เพราะประเทศที่นำ เข้ายังไม่มีกฎหมายห้ามใช้วัตถุดิบประเภทนี้ นอกจากนี้ กระบวนการผลิต อาหารต้องใช้ความร้อนทำ ให้ตรวจพบสารประเภทนี้ในอาหารได้ยาก ผู้บริโภคในประเทศที่นำเข้าบริโภคแล้ว จะเกิดผลอย่างไรไม่รับรู้ ขอทำกำไรอย่างเดียว ไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดศีลธรรมจรรยาหรือไม่? โปรดพิจารณา

 

กรณีที่ 4
         กรณีสุดท้ายขอฝากเป็นการบ้านให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานพิจารณาไตร่ตรองว่าควรกระทำ หรือไม่ คณะกรรมการบริษัทหนึ่งอนุมัติโครงการเงินกู้สวัสดิการให้พนักงานกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้านเป็นที่อยู่อาศัย โดยคิด อัตราดอกเบี้ยต่ำ กว่ากู้ธนาคารมาก เจตนารมณ์ก็เพื่อช่วยเหลือพนักงานที่เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยหรือจำ เป็น ต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง โดยบริษัทกำ หนดงบประมาณสำ หรับโครงการนี้จำ นวนหนึ่ง ที่จำ เป็นต้องจำ กัด งบประมาณ เพราะบริษัทนี้ไม่ใช้สถาบันการเงิน มีเงินทุนจำ กัด และการให้กู้ดอกเบี้ยถูกเป็นต้นทุนค่าใช้จ่าย ของบริษัท แต่ที่จำ เป็นต้องดำ เนินการเพราะมีเจตนาดี รักษาภาพพจน์ในเรื่องดูแลพนักงานดี และคาดหวังให้ พนักงานอยู่กับบริษัทนานๆ แต่ในโลกของความเป็นจริง ปรากฏว่าบริษัทต่างๆ ที่เสนอโครงการสวัสดิการดีๆ กลับมีทั้งผู้บริหารเงินเดือนเยอะและพนักงานที่ครอบครัวร่ำ รวยใช้สิทธิ์กู้เงินสวัสดิการนี้ไปใช้ ทำ ให้เป็นภาระ ต้นทุนของบริษัทและมีงบประมาณเหลือให้พนักงานที่เดือดร้อนจริงน้อยลง แม้หลายๆ บริษัทไม่ได้จำ กัดสิทธิ์ สำ หรับผู้บริหารและลูกเศรษฐีไว้ ถามว่าบุคคลเหล่านี้ควรใช้สิทธิ์หรือไม่? ยิ่งกว่านี้บางบริษัทอาจกำ หนดเงื่อนไข การกู้ยืมโดยมีวิธีการตรวจสอบพิจารณาถึงความเดือดร้อนจริง แต่ก็มีพนักงานบางพวกให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เพื่อกู้ยืมให้ได้ ถามว่าการกระทำ ที่ว่านี้ทำ ผิดเจตนารมณ์หรือหลักการที่กำ หนดไว้ชัดเจนในการให้กู้สวัสดิการ หรือไม่? เชื่อว่ามีผู้บริหารและพนักงานลืมหลักการหรือเจตนารมณ์ของโครงการ กระทำ ไปเพราะเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตัวเฉพาะหน้า หวังว่า ตัวอย่างข้างต้นจะช่วยเป็นเครื่องเตือนใจในการคิดถึงจรรยาบรรณของ องค์กรและเจตนารมณ์ของโครงการสวัสดิการทั้งหลาย

 

            ยังมีเรื่องราวต่างๆ อีกมากมายทั้งในวงการธุรกิจและวงการเมืองที่ผู้กระทำ มักอ้างว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมายโดยใช้การตีความ แบบศรีธนญชัย หรือทำ ถูกกฎหมายโดยไม่เคยคำ นึงถึงจริยธรรม ไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์หรือหลักการ เหมือนเช่นที่คนชอบ พูดถึงเรื่องกติกาทำตามกติกาโดยไม่เคยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกติกา ทุกกติกาที่กำหนดขึ้นใช้ในสังคมส่วนรวมมีเจตนารมณ์ ที่ดีทั้งนั้น คนส่วนใหญ่ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนชอบใช้เหตุผลแบบเอาสีข้างเข้าถู เช่น การสรรหา CEO ในบางหน่วยงานของ รัฐวิสาหกิจ การประมูลงานของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานราชการบางแห่ง จึงอยากเชิญชวนส่งท้ายให้ช่วยกันทำ อะไรที่คำนึงถึง ประโยชน์ส่วนร่วมโดยยึดหลัก “ทำ ถูกกฎหมายถูกกติกาที่ต้องสอดคล้องกับจริยธรรมหรือเจตนารมณ์หรือหลักการด้วย”

 

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

หากท่านสนใจบริการ ตรวจสอบภายในธรรมนิติ (DIR) มีดังนี้

 

สามารถติตต่อได้ที่

เบอร์ : 02-596-0500 ต่อ 327 อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

บริษัทตรวจสอบภายในธรรมนิติ (DIR) ยินดีให้บริการครับ

Last modified on Monday, 17 September 2018